ถ้าเราจะนำหลักการวัดรอยรั่วที่มีอยู่มาใช้กับบรรจุภัณฑ์ประเภทยาและเวชภัณฑ์ ซึ่ง หนึ่ง มีปริมาณอากาศอยู่ภายในน้อยมากๆและ สอง ต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาด ปราศจากเชื้อและสิ่งเจือปน โดยมีวิธีการให้เราเลือก 2 แบบคือแบบ Vacuum Decay และแบบ Pressure Decay ระบบ Vacuum Decay เหมาะที่จะนำมาใช้งานด้วยข้อได้เปรียบในทุกด้าน
Vacuum Decay ให้ความละเอียดมากกว่า Pressure Decay หลายเท่าตัว Vacuum Decay และ Pressure Decay ใช้การวัดปริมาตรและแรงดันเหมือนกัน ระบบ Pressure Decay ทำงานด้วยการให้แรงดันภายนอกบรรจุภัณฑ์ สูงกว่าภายในบรรจุภัณฑ์ แล้ววัดแรงดันที่ลดลงจากอากาศที่ไหลเข้าสู่ภายในบรรจุภัณฑ์เมื่อมีรอยรั่ว ในขณะที่ Vacuum Decay ทำงานกลับกัน คือทำให้อากาศภายนอกบรรจุภัณฑ์ต่ำกว่าอากาศภายในบรรจุภัณฑ์ และอากาศภายในจะไหลออกมาภายนอกเมื่อมีการรั่ว
โดยหลักการคือแรงดันสูงไหลไปสู่แรงดันต่ำ การจะทำให้ Pressure Decay มีความละเอียด คือการทำให้แรงดันภายนอกบรรจุภัณฑ์สูงกว่าแรงดันภายในบรรจุภัณฑ์มากๆ สร้างความแตกต่างของแรงดันให้มากๆ เราจึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของแรงดันเมื่อเกิดรอยรั่ว แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ เรื่องการไม่ต้องการทำให้บรรจุภัณฑ์ได้รับแรงกดดัน (Package Stress) และอื่นๆ รอยรั่วก็ต้องมีขนาดใหญ่เท่านั้นถึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของแรงดันได้
ในทางกลับกัน Vacuum Decay สามารถสร้างความแตกต่างของแรงดันภายในกับภายนอกได้ในพื้นที่จำกัดได้ดีกว่า แรงดันที่สูงกว่าภายในบรรจุภัณฑ์สามารถไหลผ่านรอยรั่วขนาดเล็ก ออกมาสู่แรงดันที่ต่ำกว่าภายนอกบรรจุภัณฑ์ได้อย่างง่ายดาย การวัดความแตกต่างของแรงดันด้วย Vacuum Transducer ซึ่งอยู่ภายในบริเวณ Chamber ก็ทำได้ง่ายกว่าและละเอียดกว่าในระดับไมครอน ระบบ Vacuum Decay จึงให้ความละเอียดและความไวในการวัดที่ดีกว่า
อีกสิ่งที่เราต้องคำนึงถึง คือ การไม่ทําลายสินค้าที่เกิดจากการทดสอบ ระบบ Vacuum Decay นั้นอากาศจากภายในไหลออกสู่ภายนอกผ่านรอยรั่วขนาดเล็กซึ่งไม่ทำให้สินค้านั้นได้รับความเสียหาย ระบบ Pressure Decay อากาศจะไหลจากภายนอกสู่ตัวสินค้าผ่านรอยรั่ว ซึ่งมีผลทำให้สินค้านั้นปนเปื้อน นอกจากเราใช้ Sterile Air