วัดการซึมผ่านออกซิเจน ตัวอย่างฟิล์ม Oxygen Permeation (OTR) on low barrier film sample
Q: Oxygen Permeation (OTR) on low barrier film sample
Q: ช่วยไขข้อข้องใจหน่อยค่ะ ว่าทำไมเวลาต้องการหาอัตราการซึมผ่านของตัวอย่างที่มีค่า OTR สูงๆ ถึงต้องทำ Masking ด้วยคุ่ะ
A: เอ....ไม่แน่ใจว่า คำถามมันยากไปไหมคะ?
A: คุณส้มโอครับ ... อธิบายง่ายๆอย่างนี้ครับ การทำ masking ก็คือการลดพื้นที่ทดสอบนั่นเองครับ ก็คือการปิดพื้นที่ส่วนใหญ๋ โดยให้เหลือไว้สำหรับทดสอบเพียงส่วนน้อย ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพียงเพื่อลดปริมาณออกซิเจน ที่จะซึมผ่านเข้ามาอีกด้านของฟิล์มได้ครับ เหตผลก็คือออกซิเจนเซนเซอร์ไม่สามารถเห็นออกซิเจนในปริมาณมากๆได้ครับ อาจทำให้เซนเซอร์เสียหายได้ครับ
เครื่องวัด OTR ของ SystechIllinois มันไม่มีปัญหาเรื่องข้อจำกัดของเซนเซอร์นะครับ ไม่ต้องทำ masking ก็ได้ ซึ่งการไม่ต้องทำ masking นี้ ทำให้ผลทดสอบมีความแม่นยำมากขึ้น ค่า OTR (oxygen transmission ratre) ที่ได้จึงถูกต้องแม่นยำกว่า สำหรับ low barrier film
Q: เท่าไหร่เราถึงจะเรียกว่า Low Barrier ครับ
A: เคยได้ยินว่า เกิน 1000 cc/m2/day ขึ้นไป ถือเป็น low oxygen barrier (OTR) film ครับ
Q: แล้ว classification อื่นหล่ะครับ
A: ก็ถ้าฟิล์มระหว่าง 10 - 1,000 cc/m2/day ก็จะเป็น medium oxygen barrier (OTR) film ครับ ต่ำกว่า 10 ลงมา ถือเป็น High oxygen barrier (OTR) film ครับ