Exhaust gas ภัยมืดจากก๊าซไอเสีย เขม่าควันเครื่องยนต์

Exhaust gas ภัยมืดจากก๊าซไอเสีย เขม่าควันเครื่องยนต์

 

ส่วนใหญ่ยานพาหนะต่าง ๆ ที่แล่นไปต้องใช้พลังงานการเผาไหม้ของน้ำมันเบนซิน (Benzine = C6H6) น้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน รถมอเตอร์ไซด์ รถสามล้อเครื่อง เรือ จะปล่อยสารพิษ ไอเสีย ไอควัน ก๊าซต่างๆ ที่อันตรายหลายชนิดออกมาทางท่อไอเสีย ทำให้เราตรวจจับก๊าซไอเสียได้จากอากาศในอัตราสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตรวจจับที่รถยนต์ เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดก๊าซไอเสียอันสำคัญ และเป็นอันตรายที่ควบคุมแก้ไขได้ยากยิ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่เขตตัวเมืองกรุงเทพมหานครมีอัตราส่วนการใช้รถยนต์ส่วนตัวเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ถึงแม้จะมีการเก็บภาษีรถยนต์ที่แพงมากขึ้นเท่าใดก็ตาม เพราะการคมนาคมกลายเป็นปัจจัยอันสำคัญของมนุษย์ส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน

ควันดำของรถที่ใช้น้ำมันเบนซินมักจะปล่อยออกมามีทั้ง ไอเสีย ก๊าซต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายคนเราได้ ตลอดจนเขม่าควันที่แยกออกมาให้สามารถตรวจจับได้ดังนี้ คือ

 

ก๊าซไอเสีย Exhaust gas ประกอบด้วย 

  • คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2)
  • ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)
  • ไนตริคออกไซด์ (NO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (NO4)
  • พวกอัลดิไฮด์ (Aldehyde)
  • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfurdioxide)

ซึ่งหากเราไม่ทำการปรับอากาศและตรวจคุณภาพอากาศอยู่สม่ำเสมอแล้ว เราก็จะมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเหล่านี้เข้าร่างกายไปโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการพกเครื่องตรวจจับก๊าซไอเสีย ช่วยให้เราสามารถลดก๊าซอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและกระทบต่อมนุษย์ได้ทันที
เช่นเดียวกันกับสถานที่หรือบริเวณต่างๆ ที่อาจมีอันตรายจากก๊าซไอเสียที่ไม่ปลอดภัยได้เช่นกัน เช่น โรงพยาบาล ออฟฟิศ สระว่ายน้ำในร่ม ฯลฯ