ข่าวนวัตกรรม!! มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) คิดค้นถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดละลายน้ำได้ โดยทำจากฟิล์มเจลาติ

Q:  ข่าวนวัตกรรม!! มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) คิดค้นถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดละลายน้ำได้ โดยทำจากฟิล์มเจลาติ


A:  เก็บตกจากงานมหกรรมวิชาการของสำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัย หรือสกว. กับการเปิดตัว “ถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดละลายน้ำที่สามารถบริโภคได้” ซึ่งทำจากฟิล์มเจลาตินที่ได้จากหนังปลา

ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยและพัฒนาจากภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) โดยเปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำจำนวนมาก ในขั้นตอนกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาและหมึก ก่อให้เกิดวัสดุเศษเหลือในปริมาณมาก เช่น หนัง ซึ่งโดยทั่วไปมักนำมาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์หรือปุ๋ยที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำ

ทางคณะวิจัยของ มอ. จึงได้นำหนังปลามาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นในสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์บริโภคได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับวัสดุเศษเหลือดังกล่าว ตลอดจนได้บรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ที่สามารถเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค

โดยฟิล์มเจลาตินจากหนังปลาที่ทางคณะวิจัยพัฒนาขึ้นเป็นฟิล์มที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและสามารถบริโภคได้ โดยสามารถใช้เป็นทางเลือกใหม่ของวัสดุสำหรับงานบรรจุภัณฑ์

โดยฟิล์มดังกล่าวมีสมบัติเด่น คือ สามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและสารระเหยต่างๆ ป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ภายนอก หรือทำหน้าที่เก็บกักสารเติมแต่งอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย สารช่วยรักษากลิ่นรส ตลอดจนทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายให้อาหารระหว่างการลำเลียงและการขนส่ง

เนื่องจากแผ่นฟิล์มจากเจลาตินมีสมบัติการละลายน้ำได้ดี โดยเฉพาะน้ำร้อน ทางคณะผู้วิจัยจึงได้นำฟิล์มเจลาตินจากหนังปลาไปพัฒนาต่อยอดเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุผงปรุงรสและน้ำมัน
โดยนำไปใช้กับอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่ หรือเส้นหมี่พร้อมปรุง เพื่อลดการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกหรือพอลิเมอร์สังเคราะห์ นอกจากนี้ ยังได้มีการวิจัยพัฒนาปรับปรุงสมบัติของฟิล์มเจลาตินให้สามารถป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำสามารถปิดผนึกเป็นถุงหรือบรรจุภัณฑ์ได้ด้วยความร้อน โดยมีความแข็งแรงมากพอสำหรับบรรจุของเหลว เช่น น้ำมัน และของแห้ง เช่น ผงปรุงรสต่าง ๆ ได้

ปัจจุบันถุงบรรจุเครื่องปรุงจากเจลาตินจากหนังปลาที่ได้สามารถใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ฮาลาล ละลายได้ง่ายในน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส (ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที)

จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของบรรจุภัณฑ์ผงปรุงรส สำหรับผลิตภัณฑ์จำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่จำเป็นต้องเติมน้ำร้อนหรือปรุงก่อนบริโภค โดยผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องฉีกและทิ้งบรรจุภัณฑ์ของเครื่องปรุงต่าง ๆ ทำให้เกิดความสะดวกกับผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน

จากการวิจัยดังกล่าวนี้ อาจจะส่งผลให้มีการวิจัยและพัฒนารูปแบบของซองบรรจุภัณฑ์ต่อไปในอนาคต เพื่อแข่งขันกันในอุตสาหกรรมอาหาร

A:  ความจริงเค้าวิจัยกันมาตั้งแต่ปี 2551 แระล่ะ แต่ว่ามันยังไม่ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ผมคิดว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการรักษาสิ่งแวดล้อมนะ

ทั้งลดขยะที่เกิดจากถุงพลาสติกที่ใช้ห่อผงปรุงรส อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศษปลาราคาถูกๆ ให้กลับมาใช้ใหม่ให้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น

อีกหน่อยในอนาคตอาจจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบนี้สำหรับห่ออาหาร ขนมขบเคี้ยวและอื่นๆ ทั้งหมดก้อเป็นได้ เพื่อลดปัญหาขยะล้นโลก ^_____^

 

Q:  แล้วมันจะเป็นอันตรายต่อร่างกายมั้ยคะ ถ้าหากกินเข้าไปเยอะๆ มันอาจจะเป็นสารสะสมในร่างกายหรือป่าว?

 

A:  ผมว่าเราก็น่าจะแค่ทานสินค้าภายในบรรจุภัณฑ์เหมือนเดิมนะคุณเจน ส่วนเปลือกก็น่าจะมีจุดประสงค์เพือการย่อยสลาย

 

A:  ในทางปฏิบัติ บรรจุภัณฑ์นี้ก็คงเลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปหมดจากการขนส่ง ก็คงไม่มีใครนำมาบริโภคอยู่ดี เพราะเห็นว่าถ้านำมาล้างน้ำก็จละลายได้ในเวลาำไม่ถึง 1 นาที เห็นด้วยค่ะที่น่าจะพัฒนาแค่ให้ป้องกันสินค้าำได้ และย่อยสลายได้

 

A:  คนก็เอาสินค้าด้านในไปกิน ส่วนเปลือกก็ต่อให้น้องแมว น้องหมาไป

 

Q:  น่าสนใจครับถ้ามันสามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซค์ ความชื้น และสารระเหยต่างๆ ได้ และยิ่งถ้าบอกว่ามันสามารถป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ภายนอก หรือทำหน้าที่เก็บกักวัตถุกันเสีย สารช่วยรักษากลิ่นรสได้ด้วยก็คงมีคุณสมบัติไม่ต่างกับ flexible film ที่ทำจาก chemical base ในปัจจุบัน

น่าจะมีคนเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับคุณสมบัติของมันอีกนะครับ

 

A:  แต่ว่ามันย่อยสลายไปกับของที่เรากินน่ะสิคะ ตัวอย่างเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จแบบถ้วยมันจะมีห่อผงปรุงรสที่ีทำจากฟิล์มเจลาตินอยู่ภายในถ้วย ทีนี้เราก้อเติมน้ำร้อนลงไป ความร้อนก้อจะทำให้ห่อผงปรุงรสนั้นละลายไปกะน้ำร้อนดังกล่าว แล้วเราก้อกินมันทั้งหมด แสดงว่าเราก้อต้องกินสารนี้สะสมไปเรื่อยๆ มันก้อเป็นสารก่อมะเร็งหรือโรคอื่นๆได้สิคะ คุณความคิดเห็นที่ 3, 4, 5

 

A:  คงไม่ต่างจาก เจลาตินที่ทำวุ้นเยลลี่นะครับ เราก็กินเจลาตินกันบ่อยอยุ่เเล้วนี่ พวกวุ้นเยลลี่ ปีโป้