HeadSpace Analysis มีการวิเคราะห์แก๊ส O2 กับ CO2 อย่างไร

Q:  HeadSpace Analysis มีการวิเคราะห์แก๊ส O2 กับ CO2 อย่างไร


Q:  ถ้าดิฉันวัดค่าสองอย่างนี้จะมีการประมวลผลอย่างไรแล้ว ใช้เวลาในการวัดเท่ากันป่าวค่ะ

 

A:  เราเดาิเอาว่าคุณญาญ่ามีเครื่องรุ่น 6600 หรือ GS3 ที่วัดครั้งเดียวได้ทั้งค่าออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซค์ การประมวลผลก็จะใช้เซนเซอร์สำหรับแก๊สแต่ละชนิดครับ ออกซิเจนก็ใช้แบบ Zirconia ครับ ส่วนคาร์บอนไดออกไซค์ก็ใช้แบบ Infrared ส่วนเรื่องการตอบสนองนั้น ต้องดูว่าคุณญาญ่าวัดแก๊สระดับไหน ความเข้มข้นเท่าไหร่ และปริมาณมากแค่ไหน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยทั้งสิ้น

 

Q:  หมายความว่าเราไม่สามารถคาดเดาได้ใช่ไหมครับ ว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน ค่าCO2จึงจะนิ่ง หากผมมีเครื่อง CO2 Analzer ใช้อยู่ และต้องการวัดค่า CO2ที่ประมาณ 45%ในHaeadSpace ของ Packageของผม ผมจะต้องใช้HeadSpace จำนวนมากแค่ไหนครับ?

 

A:  เซนเซอร์ที่ใช้วัด CO2 ในเครื่อง 6600 จะเป็นแบบอินฟาเรดครับ ซึ่งก็ถือว่าเร็วพอสมควร ส่วนใหญ่แล้วใน package ที่เติม CO2 ก็จะมีอยู่เกิน 40% อยู่แล้ว เครื่องก็น่าจะใช้ อยู่ระหว่าง 10 - 20 CC ครับที่จะวัดแก๊สระดับนี้ ที่นี้ถ้าคุณ Diw จะวัด CO2 ที่ 45% ก็น่าจะใช้แก๊สในปริมาณใกล้เคียงกันครับ

 

Q:  ทาง Illinoisมีเครื่องดุ CO2 ใน Headspace Sampling ที่ไม่เกิน 10 cc ไหมคะ สินค้าเราเป็นประเภท ยา ค่อนข้างมี Headspaceน้อยค่ะ

 

Q:  แล้วทำไมวัดที่หัวจ่ายกับวัดที่ package มันได้ค่าต่างกันล่ะครับ ทั้งๆที่มันควรจะเป็นแก๊สเดียวกัน

 

A:  เทคโนโลยีที่ IR เราใช้อยู่สำหรับ CO2 ก็ถือได้ว่าปี๊ดสุดแล้วนะครับในปัจจุบัน ถ้าเป็น package ยาที่เติม CO2 ก็น่าจะเป็นประเภทขวด ซึ่งก็น่าจะมีปริมาณตัวอย่างอากาศอยู๋พอสมควร หรือถ้าคุณส้มโอลองดูแล้วไม่พอจริงๆ เรามีเทคนิคช่วยได้ครับ

 

A:  ตอบ คห5

ต้องดูว่า packing machine ของคุณ DIW เป็นยังไงครับ เราเดาว่าคุณคงใช้แก๊สที่จะเติมลงในถุงที่ความเข้มข้นที่มากกว่าที่คุณวัดได้ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะมันมีช่วงเวลาระหว่างการเติมแก๊ส กับการปิดถุงครับ ลองกูเกิ้ล gas escape from package ก็น่าจะมีข้อมูลให้นะครับ

 

A:  ตอบคห 4

มีครับคุณส้มโอ เราทำรุ่นเฉพาะสำหรับอตสาหกรรมยา ซึ่งเราก็ทำวิจัยร่วมกับบริษัทยาชั้นนำหลายๆที่ และทราบความต้องการใช้งานอย่างดีครับ เป็นรุ่น GS3 ซึ่งทำสำหรับ pharmaceutical package โดยเฉพาะครับ อะไรก็ได้ vial, ampoule, blister, clamshell เจาะ blister แค่ cavity ก็อ่านได้แล้วครับ อึ้งมาก แล้วตัวนี้ก็เป็น 21 CFR II Compliant มี IQ OQ ให่้ถ้าต้องการ ส่วน PQ ก็ส่งขั้นตอนมาให้เราได้ครับ ฝากเบอร์ไว้ดีกว่าครับ

Q:  ขอบคุณค่ะ ผลิตภัณฑ์ที่ดิฉันถามถึง คือซองยาซึ่งมีขนาด 8.5 กรัม ซึ่ง Headspaceน้อยมาก (ไม่แน่ใจว่ามีกี่cc) ซึ่งเราต้องทำการสุ่มตรวจทุกๆ 15 นาที สินค้าเราค่อนข้างซีเรียสค่ะ ยังไงอยากให้เข้ามาพูดคุยกันค่ะ

ขอถามอีกนิดนะคะ ว่ามีขั้นตอนในการ Calibrate อย่างไร และใครเป็นผู้ออกใบรับรองคะ ดิฉันอยากให้ผู้ออกใบรับรองเป็นที่น่าเชื่อถือค่ะ เพราะลูกค้าดิฉันจะขอดูเอกสารนี้ด้วย

 

A:  ปกติการสอบเทียบ (Calibrate) เครื่อง Headspace นั้น ทุกที่ก็จะสนับสนุนให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการ 3rd party หรือการสอบเทียบจากผู้ผลิตโดยตรงในการดำเนินการนี้ เราเองมีบริการนี้อยู่เช่นกันครับ

เป็น calibration certificate จาก OEM (Original Equipment Manufacturer) หรือถ้าคุณส้มโอต้องการเป็น 3rd party เราจะแนะนำบริษัทที่ได้มาตรฐานที่เราให้การรับรองให้ครับ

ส่วนเรื่องการวัดนั้น ไม่มีัปัญหาใดๆครับ เครื่อง GS3 ที่เราแนะนำไปเบื้องต้นทำมาเฉพาะบรรจุภัณฑ์ยาเลยครับ ต้องเรียนว่าเฉพาะมากๆเดี๋ยวน่าจะมีทางเซลติดต่อไปครับ

 

Q:  ขอบคุณค่ะ รบกวนโทรเข้าofficeนะคะ ดิฉันแจ้งน้องเค้าไว้แล้ว (ดิฉันอาจอยู่ในLineค่ะ)

 

Q:  คุณส้มโอทำ PQ ของเครื่องตัวนี้ด้วยหรือป่าวค่ะ

 

Q:  ถ้า Head space มีปริมาตรเป็นครึ่งหนึ่งของกระป๋อง จะเกิดผลอย่างไรในกระบวนการแปรรูปอาหาร